Jump to content

** รวมเรื่องของบุญ บอกข่าวบุญ อานิสงส์ น&#3636


simply_oriental
 Share

Recommended Posts

ตอนนี้ต้องเปลี่ยนจากเทียนมาเป็นหลอดไฟและบัลลาร์ดแทนแล้วมั้งคะพี่เจน อิๆๆ บ้านต่ายก็ถวายหลอดไฟแทนน่ะค่ะ

Link to comment
Share on other sites

  • Replies 54
  • Created
  • Last Reply

Top Posters In This Topic

เหตุแห่งความรัก บุพเพสันนิวาส คือ.... (โดยคุณอังคาร)

couple-by-lake-lg-91823045.jpg

ปุถุชนผู้ยังละกิเลสไม่ได้ เกิดมาก็ย่อมต้องมีความรักทั้งหญิงและชาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุที่ทำให้หญิงชายรู้สึกรักกันไว้ใน

สาเกตชาดก พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ดังนี้

“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส â€

“ ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกัน ในกาลก่อน ๑ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ â€

เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ประการ คือน้ำและเปือกตม ฉะนั้น â€

จึงจะเห็นว่าการที่หญิงชายมารักกัน ชอบกัน และอาจได้อยู่ร่วมกันนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่มีปัจจัยมาจาก ๒ ประการดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุให้รู้ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก คู่ครอง เนื้อคู่ ฯลฯ อีกมากมาย

คู่ บุพเพสันนิวาส คือ การได้เคยอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ จนส่งผลให้ได้มาเป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าเคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วบุพเพสันนิวาสหมายถึงการที่อาจจะได้อยู่ร่วมกันในฐานะอื่นก็ได้ เช่น พี่กับน้อง พ่อกับลูก แม่กับลูก เพื่อครูกับศิษย์ นายกับบ่าว เป็นต้น การที่มีบุพเพสันนิวาสร่วมกันนี้เมื่อเกิดมาร่วมกัน ก็มักจะสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมา ทำอะไรตามกัน มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำให้อยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข

เนื้อคู่ คือ หญิงและชายที่เคยได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันมาก่อนในอดีตชาติ

คู่ครอง คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันในชาติปัจจุบัน

คู่กรรม คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสามีภรรยา แต่มักไม่มีความสุข เนื่องจากการมาอยู่ร่วมกันนั้นเกิดจากวิบากของกรรมที่ทำร่วมกันหรือวิบากกรรมที่มีต่อกันมาส่งผลเช่น อาจเคยทำบาปร่วมกัน หรือเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนเป็นต้น

คู่บารมี คือ เนื้อคู่ที่ได้ติดตามกันมา ส่งเสริมกันและกันในทางที่ดี ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยาร่วมกันนับชาติไม่ถ้วน และจะติดตามกันต่อไปจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ มักใช้คำนี้กับพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีกับเนื้อคู่ลำดับ ๑ ที่จะได้เป็นคู่ครองกับในชาติสุดท้าย

เหตุแห่งการได้อยู่ร่วมกัน

ดังที่พระพุทธองค์ได้แสดงเหตุที่หญิงชายได้รักและได้เป็นสามีภรรยากันนั้นมี ๒ ปัจจัย คือ

• การได้อยู่ร่วมกันในกาลก่อน

• การได้เกื้อหนุนกันในชาติปัจจุบัน

เนื่องจากวัฎสงสารยาวไกลจนหาจุดเริ่มต้นและที่สุดไม่ได้ หญิงชายแต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมายเป็นแสนคน แต่ละชาติที่เกิดมาก็อาจได้พบเจอเนื้อคู่ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน หรืออาจไม่ได้เจอเนื้อคู่เลยสักคนก็เป็นได้ กรณีที่ไม่เจอเนื้อคู่เลยนั้น หญิงชายนั้นก็อาจมีคู่ได้กับบุคคลใกล้ชิดที่ได้เกื้อหนุนกันในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อได้เป็นคู่กันในปัจจุบันแล้วหญิงชายนั้นก็จะได้เป็นเนื้อคู่กันต่อไป

ลำดับของเนื้อคู่

เพราะเหตุที่แต่ละคนมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าแล้วใครกันเล่าที่สมควรจะได้อยู่เป็นคู่ครองกันมากที่สุด และจะมีวิธีการเลือกอย่างไร แม้จะมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย แต่จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วมีความสุขที่สุด เมื่อพบหน้ากันแล้วไม่อาจตัดใจรักให้ขาดจากกันได้ บุคคลนี้คือเนื้อคู่ที่ได้อยู่ร่วมกันมามากที่สุดเป็นแสนเป็นล้านชาติ เป็นเนื้อคู่ลำดับที่ ๑ กฎแห่งกรรมจะจัดสรรการมีคู่ไว้ให้เราเรียบร้อย คือ หากเรามีเนื้อคู่เกิดมาพร้อมกัน ใจเราจะเป็นผู้เลือกเนื้อคู่ลำดับต้นเสมอ

เมื่อเลือกแล้วคู่ลำดับอื่นเขาจะหลีกทางและไปหาคู่ของเขาต่อไป แต่กฎแห่งกรรมอีกเช่นกัน ที่บางชาติ กลับทำให้คู่ลำดับต้น ๆ ได้มาพบกันทีหลังหลังจากที่อีกฝ่ายได้เลือกคู่ครองไปแล้วซึ่งแม้จะได้พบกันทีหลัง แต่เพราะเป็นคู่ลำดับต้น จิตใจของทั้งคู่ก็จะร้อนรนทนไม่ไหว จึงต้องรักกันอีกครั้งซึ่งความรักครั้งนี้ต้องหัก ต้องบังคับฝืนใจกันอย่างเต็มกำลัง

กล่าวกันว่าแม้พระภิกษุผู้มั่นคงในศีล เมื่อได้เจอเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ยังทนไม่ได้ ต้องสึกหาลาเพศมาอยู่กับเนื้อคู่ของตนจนได้ เหตุที่เนื้อคู่ลำดับต้นมาเกิดในชาติภพเดียวกัน แต่กลับไม่สมกันนั้น มีเหตุเดียว คือ กรรมพลัดพรากได้มาส่งผลเป็นวิบากแก่ทั้งคู่อย่างร้ายแรง หากกรรมนั้นใกล้จะหมดผลเขาทั้งสองก็อาจได้เป็นคู่ครองกันในชาตินั้น แต่หากกรรมนั้นยังรุนแรงอยู่ทั้งสองก็ต้องทนทุกข์ทรมานชดใช้กรรมนั้นให้หมด แล้วจึงจะได้มีวาสนาอยู่ร่วมกันในชาติต่อ ๆ ไป

เหตุที่อกหักผิดหวังในความรัก

sad.jpg

นอกจากการผิดหวังจากเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ซึ่งเกิดจากกรรมพลัดพรากแล้ว บางครั้งคนเราก็อาจต้องผิดหวังในความรัก โดยมีเหตุมาจากกรรมทั้งสิ้น คืออยู่กับคู่ครองไม่มีความสุข ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำหรือมีปัญหาให้ทุกข์ใจตลอด เหตุที่เป็นดังนี้ แสดงว่าคู่ครองนั้นไม่ใช่เนื้อคู่ลำดับที่ ๑-๕

เนื่องจากกรรมจากการเป็นคนไม่ดี ไม่มีศีลธรรมส่งผลให้ไม่ได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ หรืออาจเป็นเพราะทั้งสองไม่ใช่เนื้อคู่กัน แต่ทั้งคู่เป็นศัตรูคู่อาฆาต ได้เคยผูกใจเจ็บกันมา ชาตินี้จึงต้องมาแก้แค้นกันเอง และแรงอาฆาตได้ผลักดันให้ทั้งสองมาอยู่ร่วมกัน และแก้แค้นกันเองตามแรงอาฆาตนั้น หรือบางคนรักเขาข้างเดียว อกหักบ่อยครั้ง โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้สนใจด้วยเลย เหตุนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอดีตชาติเคยอาฆาตเขาไว้ แต่เขาไม่ได้อาฆาตตอบและไม่ได้ถือโกรธด้วย ชาตินี้จึงต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเขาอยู่เพียงฝ่ายเดียว อย่างนี้ไม่ได้เป็นเนื้อคู่ เป็นเพียงคู่กรรมเท่านั้น

ทำอย่างไรจึงจะได้อยู่ร่วมกัน

เมื่อความรักหวานชื่น คู่ครองทั้งหลายย่อมต้องอยากเกิดมาเป็นเนื้อคู่กันอีก ซึ่งผลกรรมก็ได้จัดสรรการเกิดมาเป็นคู่ครองกันอีกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นอกจากการรอให้กรรมเป็นตัวจัดสรรแล้ว เรายังสามารถเลือกที่จะได้พบและอยู่เป็นคู่ครองกับเนื้อคู่ของเราได้ในอนาคต

โดยการอธิษฐาน แต่แม้จะมีอธิษฐานร่วมกัน สุดท้ายการได้อยู่ร่วมกันก็ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมอยู่ดี การอธิษฐานนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษคือ ในด้านประโยชน์ ทำให้เนื้อคู่ทั้งสองมีโอกาสกลับมาเป็นคู่ครองกันในชาติต่อ ๆไป ได้ง่าย แต่ในแง่ของโทษ บางครั้งก็ทำให้การใช้ชีวิตไม่เป็นปกติสุข เช่น หากเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้ไม่ได้มาเกิด หรือมาเ กิดแล้วแต่ยังไม่ได้พบกัน ฝ่ายที่รออยู่จะไม่สามารถมีคู่ได้ จิตใจไม่รักใคร หรือแม้จะได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ แต่ก็มีเหตุให้ไม่สมหวังทุกครั้งไป เนื่องจากแรงอธิษฐานนั้นฉุดรั้งไว้ หรือบางครั้งจิตใจมีสังหรณ์อยู่เสมอว่ารอคอยใครอยู่ ทั้งที่ไม่รู้ว่ารอคอยใคร

การแก้ปัญหาเรื่องอธิษฐาน

หากแน่ใจว่าเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้คงไม่ได้พบเจอกันแน่แล้ว หรืออยากจะปล่อยวางเพื่อมีโอกาสได้ตัดสินใจกับเนื้อคู่ลำดับอื่น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงอธิษฐานขออนุญาตเนื้อคู่ว่า ขอละคำอธิษฐานนั้น ขอให้ชีวิตได้พบเนื้อคู่ที่สมกัน และได้ใช้ชีวิตคู่อย่างปกติและมีความสุข

คู่บารมี

สุดท้ายคือเรื่องของคู่บารมี เป็นคู่สำคัญ เป็นคู่ที่ยาวนาน เพราะต้องร่วมกันสร้างบารมีขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเนื้อคู่ที่จะเคียงข้างกันไป การเป็นพระโพธิสัตว์นั้นต้องการกำลังใจที่เข้มแข็ง มั่นคง และเสียสละความสุขทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก พระโพธิสัตว์นั้นต้องใช้เวลายาวนานมากในการสร้างบุญบารมีกว่าที่จะสามารถตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างเร็วที่สุดก็ต้องใช้เวลาถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป และอย่างช้าก็เนิ่นนานจนถึง ๘๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปเลยทีเดียว

คนที่ตั้งใจเป็นคู่บารมีจึงต้องมีความเสียสละและเด็ดเดี่ยวไม่แพ้กันบุคคลผู้ปรารถนาเป็นคู่บารมีนั้น จะเป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากที่สุดได้เป็นคู่ครองกันมากที่สุด และเป็นเนื้อคู่ลำดับ ๑ อย่างเที่ยงแท้ การเป็นคู่บารมีนั้นลำบากมากยิ่งนัก เพราะคนเป็นคู่บารมีนั้นจะต้องพบกับสิ่งต่อไปนี้ คือ ต้องเกิดเป็นผู้หญิง ไม่ได้เกิดเป็นผู้ชาย ต้องช่วยพระโพธิสัตว์ทำงานอย่างเต็มกำลัง ในบางชาติอาจต้องร่วมสร้างบารมีกับพระโพธิสัตว์ เช่น ต้องสละชีวิตร่วมกัน ต้องถูกบริจาคลูก หรือตัวเองเพื่อเสริมบารมีให้พระโพธิสัตว์ เป็นต้น ตราบใดที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คู่บารมีนั้นก็ยังไม่มีโอกาสบรรลุโลกุตรธรรมได้

Link to comment
Share on other sites

Dhamma in English (10)

Kamma/Karma

http://www.learners.in.th/blog/budlogic/423385

รายการ Dhamma in English ครั้งที่ ๑๐ นี้ ผู้เขียนขอเสนอคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่อาจกล่าวได้ว่ามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากที่สุดเรื่องหนึ่ง นั่นคือเรื่อง "กรรม" ฝรั่งนิยมเขียนว่า "Kamma" หรือ "Karma" คำแรกเป็นภาษาบาลี สะกดแบบไทยว่า "กัมมะ" คำหลังเป็นภาษาสันสกฤต สะกดแบบไทยว่า "กรรม" นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อย่างน้อยก็มีคำสอนหนึ่งหยั่งรากลึกลงในวิถีชีวิตของคนไทย จนมีอิทธิพลต่อการกำหนดความคิดความเชื่อของคนในสังคม แต่ในความน่ายินดีก็มีความน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย

บ่อยครั้งที่เราได้ยินคนไทยพูดคำว่า "ก้มหน้ารับกรรม" "ชาตินี้มีกรรม" "กรรมของสัตว์" "สุดแต่บุญแต่กรรม" สำนวนเหล่านี้บ่งบอกว่าคนไทยเข้าใจเรื่องกรรมในแง่ที่ว่า (๑) มองกรรมในแง่ที่เป็นเรื่องร้ายๆ (๒) มองกรรมในแง่ที่ผลของการกระทำ เช่นเราเห็นใครบางคนประสบเคราะห์ร้าย ก็มักจะบอกว่า "เป็นกรรมของสัตว์" (๓) มองกรรมในแง่ของผลการกระทำไม่ดีในชาติที่แล้ว เช่น บอกว่า "ชาติที่แล้วเราคงทำไม่ดีกับเขาเอาไว้" สรุปแล้วก็คือการมองกรรมในแง่เป็นผลและเป็นเรื่องร้ายๆ นอกจากนั้น ความเชื่อเรื่องกรรมของคนไทยยังแฝงไว้ด้วยทัศนคติ (attitude) ที่ไม่ดีทั้งต่อตนเองและคนอื่นด้วย กล่าวคือเมื่อมองว่าตนเองเป็นคนมีกรรมหรือชาตินี้มีกรรม ก็จะตามมาด้วยท่าทีแบบทอดธุระ ท้อแท้ถดถอย ไม่คิดที่จะต่อสู้หรือปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น เมื่อมองคนอื่นที่ได้รับความเดือดร้อนว่าเป็นกรรมของสัตว์ ก็จะตามมาด้วยท่าทีแบบเพิกเฉย ปล่อยให้เป็นเรื่องยถากรรมของใครของมัน

ทีนี้เรามาดูว่าพระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรมอย่างไร คำว่า "กรรม" แปลตามศัพท์ว่า "การกระทำ" (action/deed) หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา (volitional action) หรือการกระทำที่มีฐานมาจากความจงใจ (action based on intention) หรือบางครั้งก็มุ่งเอาเจตนานั่นแหละเป็นตัวกรรม ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาเป็นกรรม " (Bhikkhus! Intention, I say, is Kamma) กรรมเป็นคำที่มีความหมายกลางๆ ใช้ในทางดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้ มุ่งเอาตัวการกระทำหรือตัวสาเหตุ (causes/conditions) มากกว่าตัวผล (result) ถ้าใช้ในทางดีเรียกว่า "กุศลกรรม" (wholsome action) ถ้าใช้ในทางไม่ดีเรียกว่า "อกุศลกรรม" (unwholesome action) ถ้ามุ่งถึงช่องทางที่แสดงออกก็แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ การกระทำทางกาย (กายกรรม-bodily action) การกระทำทางวาจา (วจีกรรม-verbal action) การกระทำทางใจ (มโนกรรม-mental action)

การที่จะเข้าใจเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาได้ดี เราต้องย้อนกลับไปดูภูมิหลังสังคมอินเดียสมัยโบราณว่าเขาอธิบายความเป็นไปในชีวิตของมนุษย์อย่างไร สมัยนั้นมีแนวคิดที่อธิบายชีวิตมนุษย์อยู่ ๓ แบบหลักๆ คือ-

๑. แนวคิดที่ว่าชีวิตของมนุษย์จะสุขหรือทุกข์ จะสูงขึ้นหรือต่ำลง ล้วนถูกกำหนดด้วยกรรมเก่า เรียกว่า ปุพเพกตวาท (past-action determinism)

๒. แนวคิดที่ว่าชีวิตของมนุษย์จะสุขหรือทุกข์ จะสูงขึ้นหรือต่ำลง ล้วนถูกกำหนดโดยเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เรียกว่า อิสสรนิมมานเหตุวาท (theistic determinism) คล้ายกับที่คนไทยพูดว่า "พรหมลิขิต"

๓. แนวคิดที่ว่าชีวิตของมนุษย์จะสุขหรือทุกข์ จะสูงขึ้นหรือต่ำลง ล้วนเป็นความบังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัย เรียกว่าอเหตุกวาท (indeterminism/accidentalism)

พระพุทธศาสนาไม่เห็นด้วยกับการอธิบายชีวิตของมนุษย์ ๓ แบบนี้ ไม่เชื่อว่ากรรมเก่าอย่างเดียว เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ หรือความบังเอิญ เป็นตัวกำหนด (determine) ชีวิตของมนุษย์ เพราะการอธิบายแบบนี้เท่ากับว่ามนุษย์ไม่มีอำนาจที่สร้างสรรค์ชีวิตของตนได้เลย ดังนั้น คำสอนเรื่องกรรมจึงมีฐานมาจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์มีอำนาจในตนเอง (autonomous) และมีศักยภาพ (potential) ที่จะสร้างชีวิตของตนให้เจริญขึ้นหรือเสื่อมลงก็ได้ อำนาจกำหนดชีวิตอยู่ในกำมือของเรา ชีวิตของเราจะเป็นอย่างไร จะสุขหรือทุกข์ จะเสื่อมลงหรือเจริญขึ้น ล้วนอยู่ที่กรรมหรือการกระทำของเราเอง ทั้งการกระทำในอดีต ปัจจุบัน และที่จะมีในอนาคต โดยนัยนี้ คำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาเป็นการมอบอำนาจกำหนดชีวิตมาอยู่ในมือของมนุษย์แต่ละคน เป็นคำสอนที่ส่งเสริมการพึ่งตนเอง (self-reliance)ส่งเสริมความเพียรพยายามของตนเอง (effort) ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อตนเอง (self-responsibility) เมื่อมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นในชีวิต ก็ไม่ให้โทษความซวย โทษโชคลาง โทษดวงดาว หรือโทษผีสางเทวดา แต่ให้กลับมาพิจารณาทบทวนการกระทำของตนเอง แล้วแก้ไขที่การกระทำหรือกรรมของตนเอง

รายการ Dhamma in English ครั้งที่ ๑๐ คิดว่าน่าจะพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก่อนจากขอฝากพุทธภาษิตเกี่ยวกับการพึ่งตนเองไว้ว่า

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ

ตนแล เป็นที่พึ่งของตน

One is one's own master

อย่าโทษไทท้าวท่วย เทวา

อย่าโทษสถานภูผา ย่านกว้าง

อย่าโทษวงศา มิตรญาติ

โทษแต่กรรมเองสร้าง ส่งให้เป็นเอง

Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

 Share


×
×
  • Create New...