Jump to content

นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด !


Sasie
 Share

Recommended Posts

Posted by นายกรัฐมนตรี_โจโฉ

เกือบๆเดือนๆที่ผมไม่ได้เขียนเรื่องราวอะไรในโอเคเนชั่นเพราะติดภาระกิจที่ต้องทำในมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังคงติดตามข่าวสารการเลือกตั้งอยู่ไม่ขาดทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออย่างโอเคเนชั่นอันอบอุ่นแห่งนี้

ผมเห็นหลากหลายนโยบายของหลายพรรคการเมืองแล้วรู้สึกว่าประเทศไทยเราคงจะต้องเตรียมพบกับ "หายนะ" ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ในเร็ววัน ความไม่สัมพันธ์กันระหว่างรายรับกับรายจ่ายของรัฐบาลที่ต้องมาสนองนโยบายขายฝันเพื่อให้เป็นฝ่ายกุมอำนาจรัฐนั้นคือตัวเร่งปฏิกิริยามวลชนที่รอวันจะออกมาเดินตามท้องถนนเพื่อล้มรัฐบาลตามทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย และเป็นตัวที่ทำให้เศรษฐกิจของชาติต้องไปผูกพันธ์กับ "หนี้" ที่เกิดจากการกู้ยืมจากต่างชาติเพื่อมาสนองนโยบายรัฐและทำโครงการประชานิยมให้สำเร็จตามที่ได้หาเสียงไว้

ตลอดเวลาปีกว่านี้ผมเพิ่งจะมาศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย รวมทั้งพระราชประวัติและการทรงงานของพระะเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันและถ้ามองดูในภาพรวมแล้วสามารถสรุปออกมาได้เป็นประโยคเดียวคือ...

"นักการเมืองยื่นปลา พระราชายื่นเบ็ด"

"นักการเมืองยื่นปลา" คือลักษณะการทำงานของนักการเมืองที่มักจะหยิบยื่นและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนนิยม "อันเป็นลักษณะธรรมชาติทั่วไปของนักการเมืองทุกชาติทุกภาษา" แต่การยื่นปลานั้นไม่ใช่การสร้างถนน สร้างไฟฟ้า สร้างปะปา หรือสาธารณูปโภค การยื่นปลาที่ว่าหมายถึง "นโยบายประชานิยม" ไม่ว่าจะแจกของ แจกเงิน ขึ้นเงินเดือนค่าแรง สร้างรถไฟฟ้าตามใจนักการเมืองโดยไม่คำนึงถึงปริมาณความจำเป็นที่แท้จริงของประชาชน เป็นต้น

นโยบายประชานิยมเป็นที่น่ารังเกียจของนักวิชาการมาทุกยุคทุกสมัยกลับกลายเป็น "นโยบายหลัก" ในการหาเสียงกับประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ การยื่นแต่ปลาให้กับประชาชนคือการสร้างความรวดเร็วในการพัฒนาประเทศและตักตวงซึ่งคะแนนนิยม การหยิบปลาจากแม่น้ำใส่มือประชาชนที่มาขึ้นทุกๆวันนี้ก็คงจะทำให้ "ปลา" หมดไปจากแม่น้ำในเร็ววัน เพราะเท่าที่ผมสังเกตดูแล้วรัฐบาลหลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจที่จะเพาะพันธุ์ปลา แต่คิดจะตักปลาในแม่น้ำใส่มือประชาชนอย่างเดียว ซึ่งแตกต่างกับวิถีการทรงงานของพระราชาที่ทรงเพียรทำมาโดยตลอดหกสิบกว่าปี อันเป็นที่มาของคำว่า "พระราชายื่นเบ็ด"

"พระราชายื่นเบ็ด" คือลักษณะการทรงงานของในหลวงคือ "ยื่นเบ็ดตกปลา" ให้ประชาชนแล้วสอนว่าต้องตกปลาอย่างไร ลักษณะการทรงงานแบบนี้ต้องใช้เวลา เห็นผลช้า และประชาชนไม่นิยม อีกทั้งไม่เป็นที่ใส่ใจและน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ลักษณะงานแบบพระราชายื่นเบ็ดนี้ยังเป็นการ "ถนอม" ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล รวมทั้งงบประมาณแผ่นดินได้อย่างมหาศาล สังเกตได้จากลักษณะโดยทั่วไปของโครงการตามพระราชดำริของในหลวงซึ่งจะเป็นโครงการที่อยู่ภายใต้งบประมาณที่จำกัด แต่กลับได้ผลเกินคาด ซึ่งเราจะหาโครงการแบบนี้ตามโครงการของรัฐบาลไม่ได้สักโครงการเดียว

"พระราชายื่นเบ็ด" นี้ต้องอาศัยความต่อเนื่องของการติดตามโครงการกินเวลานาน โครงการตามพระราชดำริ(ด้านการเกษตร-ปศุสัตว์)บางโครงการต้องใช้เวลาเป็นสิบปีเพื่อพิสูจน์ความเป็นจริงตามพระราชดำรัสที่ทรงให้ไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ ประชาชนหลายๆแห่งแม้อยู่ต่อหน้าพระพักตร์รับทุกอย่าง แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงกลับเกิดคำถามในใจ "จะสำเร็จจริงหรือ" ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าใจในความคิดนี้ของประชาชน ทรงเน้นย้ำให้ข้าราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องติดตามผลและรายงานผลให้พระองค์รับทราบตลอดเวลา จนกระทั่งผ่านไปหลายปีเมื่อโครงการตามพระราชดำริสำเร็จ ประชาชนที่เคยคิดว่า "จะสำเร็จจริงหรือ" ก็กลับกลายเป็น "น้ำตาของความดีใจ" ทันทีที่หวนนึกถึงและรู้สึกดีที่อดทนพิสูจน์พระราชกระแสรับสั่งที่เคยให้ไว้เมื่อหลายปีก่อน

แต่การทำงานของ "รัฐบาล" นั้นมีเวลาจำกัด และต้องอยู่ในสถานะที่ได้รับความนิยมจากประชาชนโดยตลอด ทำให้ลักษณะการทำงานออกมาในแนวทางของการ "ยื่นปลา" ซึ่งรวดเร็ว และประชาชนก็ชื่นชอบ ไม่ต้องรอเป็นสิบๆปี แต่กระนั้น "ความไม่ยั่งยืน" ก็จะถามหาภาคประชาชน ความไม่ยั่งยืนที่ว่าพร้อมทำลาย "รากฐาน" ของประเทศไทย นั่นคือ "เกษตรกรรม" ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเท่าที่ผมสังเกตมาในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาแทบจะไม่มีรัฐบาลไหนที่ให้ความสำคัญกับ "น้ำมันบนดิน" หรือภาคการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานของประเทศไทยมาตั้งแต่ยังเป็นกรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญของ "เกษตรกรรม" ไทยมากเป็นพิเศษ เพราะทรงเข้าใจพื้นหลังและสภาพความเป็นจริงของชนชาติไทย และภูมิประเทศที่เอื้อกับการเกษตรมากกว่าอุตสาหกรรม โครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่จึงเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ กักเก็บแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และเป็นโครงการส่งเสริมด้านการเกษตร ซึ่งน่าเสียดายที่รัฐบาลไทยหลายสมัยไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้เท่าที่ควร ประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยทำงานด้านการเกษตรก็ทิ้งเรือสวนไร่นาไปอยู่โรงงานอุตสาหกรรม ธุรกิจการเกษตรก็ตกไปอยู่ในอุ้งมือนายทุนใหญ่ไม่กี่ราย ซึ่งเขาสามารถกำหนดราคาสินค้าในตลาด ควบคุมการกินของคนไทยได้สำเร็จ

หลายคนอาจมองว่าดี แต่สำหรับผมแล้วการผูกขาดการค้าโดยนายทุนไม่เคยมีคำว่าดีสักนิด พระเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริม "สหกรณ์ชุมชน" เพราะเป็นสิ่งที่จะทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากและสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนโดยไม่ต้องพึ่งพานายทุน แต่ปัจจุบันสหกรณ์ชุมนุมกลายเป็นเพียงทฤษฎีในตำรา ที่ประสบความสำเร็จก็จะต้องใช้เวลาหลายปี อีกทั้งการไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องความรู้ความเข้าใจ จึงทำให้ "นายทุนการเกษตร" เข้ามาครอบครองส่วนแบ่งการตลาดจากสหกรณ์ของประชาชนไปเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

โดยที่นายทุนนั้นก็อิงแอบกับภาคการเมืองเพื่อให้ "เดินสะดวก" ในการทำธุรกิจ มันจึงกลายเป็นวัฏจักรที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่หายนะในไม่ช้า

และทันทีที่บ้านเมืองเกิดหายนะทางเศรษฐกิจรวมทั้งความเชื่อมั่นของคนในชาติที่ลดลงกับการเมืองก็จะหันไปมอง "เบ็ดตกปลา" ของพระเจ้าอยู่หัวอีกครั้ง โดยที่ไม่รู้ตัวและสำนึกตัวว่า "สายไปเสียแล้ว" ที่เราจะไปหยิบเบ็ดตกปลานั้นมาใช้ !!!

Source: http://www.oknation.net/blog/PM-CaoCao/2011/07/06/entry-1

Edited by Sasie
Link to comment
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

 Share

×
×
  • Create New...